วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แนะนำแผนที่ยุทธศาสตร์กับนวัตกรรม



โดย นายแพทย์อมร นนทสุต
ประธานคณะกรรมการสนับสนุนและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นสู่พื้นที่

สิ่งที่จะคุยกันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับแผนที่ยุทธศาสตร์ แต่ว่าก่อนจะไปถึงตรงนี้ อยากจะเรียนว่าโดยที่ผมเป็นประธานคณะกรรมการสนับสนุนและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นสู่พื้นที่ ซึ่งแต่งตั้งโดย สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช. ) ผมและคณะได้เริ่มงานชิ้นนี้มา 7-8 เดือนหรือเมื่อต้นปีนี้เอง ในช่วงนี้เราก็ได้ทำอะไรไปเยอะและมีแนวคิดอะไรต่างๆค่อนข้างชัดเจน ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังในเช้าวันนี้
ที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่า เราต้องการที่จะให้งานชิ้นนี้เป็นงานโบว์แดง นอกเหนือจากงานสาธารณสุขมูลฐานที่เราได้ทำไปแล้ว ก็อยากจะชวนพวกเราว่าขอให้เข้ามาตรงนี้แล้วเราจะได้เดินทางไปด้วยกัน สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นกับประเทศของเราคงจะมีมากมายในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้ เพราะว่าเรากำลังเล่นกับนวัตกรรม นอกเหนือจากแผนที่ยุทธศาสตร์ อยากจะชวนพวกเราตรงนี้เพราะว่าผมมีความหวังกับ 2 กรมใหญ่ คือกรมอนามัยกับกรมควบคุมโรค เพราะว่างานของท่านทั้ง 2 กรมนี้ต้องไปเกิดที่ระดับตำบล ของจริงของแท้จะต้องไปเกิดที่ตำบล ที่ท้องถิ่น คงไม่ได้มาเกิดอยู่แถวระดับเหนือเหนือขึ้นมาซึ่งเป็นเพียงผู้แนะนำให้เท่านั้นเอง ฉะนั้นความหวังก็อยู่ที่ท่านทั้งหลาย ที่จะทำให้ความคิดที่เรามีอยู่นี้เป็นผลสำเร็จ คืองานสาธารณสุขมูลฐานนี้เริ่มมานาน 30 ปีแล้ว แต่ยังไปไม่เต็มที่ไปไม่ถึงขั้นที่เราพอใจ คือว่าชาวบ้านจริงๆยังยืนไม่ได้จนทุกวันนี้ เรามีอาสาสมัครสาธารณสุข ( อสม. )มีอะไรต่างๆที่ใช้ในรูปบริการไปเรื่อยทำให้ชาวบ้านแท้ๆแกไม่ลุกขึ้นยืนซะที คอยรับบริการอย่างเดิม ก็เหมือนที่เราทำอะไรกันมาก่อนที่จะมี อสม. ไม่ได้ต่างอะไรกันเท่าไหร่เพียงแต่ว่าเพิ่มบุคลากรขึ้นมาประเภทหนึ่งเท่านั้นเอง แต่รูปงานยังเป็นอย่างเก่า
มาถึงตรงนี้เราจะต้องเปลี่ยนแปลงแน่นอน ที่ต้องเปลี่ยนก็เพราะมีผู้แสดงใหม่ๆขึ้นมาหลายคนในช่วงหลังนี้ โดยเฉพาะองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีบทบาทมากโดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ ปัญหาก็คือว่าแล้วเราจะร่วมมือกันอย่างไร เราจะยืนอยู่ตรงไหน ท้องถิ่นจะยืนอยู่ตรงไหน เป็นปัญหาที่เราจะต้องมาเคลียร์ แล้วก็พูดกันให้ชัดเจน แล้วจึงเดินทางไปด้วยกันไปหาจุดประสงค์อันเดียวกันและวิสัยทัศน์จะต้องตรงกัน
ก่อนที่จะพูดอะไรต้องขอให้เกียรติกับคนที่คิดเรื่องแผนที่ยุทธศาสตร์นี้คือ
Professor Robert Kaplan และ Professor David Norton จาก ฮาวาร์ด เราไปเอาแนวคิดของเขามาพัฒนามาปรับปรุงใหม่ โดยคณะที่ผมดูแลอยู่นี้เป็นคนทำ เราได้ทำเรื่องนี้มาประมาณ 3- 4 ปี จนกระทั่ง
.................................................................................................................................................
การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาสุขภาพประชาชน ”
ในการประชุมติดตามผลการดำเนินงานรอบ 12 เดือน กรมอนามัย ประจำปี 2551
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2551 ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เข้ารูปว่าสามารถเอางาน strategy map มาใช้ในภาพสังคมได้ เดิมเขาทำมาใช้ในภาพเศรษฐกิจ สำหรับการทำงานกับธุรกิจต่างๆ บริษัท ห้าง ร้าน เพราะฉะนั้นตัวบนสุดเรื่องของผลกำไรใช้กับของเราไม่ได้ต้องนำมาปรับใหม่ ขณะเดียวกัน กพร. ก็มานำเรื่อง Balanced Scorecard แต่ก็เช่นเดียวกันลิขิตสมดุลหรือ Balanced Scorecard ที่นำมามันก็ใช้สำหรับปรับองค์กรเพื่อให้องค์กรนั้นมีประสิทธิภาพสูงที่เรียกว่า High Performance Organization คือเอาตัวองค์กรเป็นหลัก การพัฒนาเพื่อให้องค์กรทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมีประสิทธิผล อันนี้ไม่ได้หมายความว่าจะนำไปใช้ได้ในระดับท้องถิ่นหรือชาวบ้าน เพราะว่ามันก็ยังดูอยู่แต่ในองค์กรนั้นเอง ก็เขาเป็น กพร. ชื่อมันก็บอกแล้วว่าพัฒนางานระบบราชการ มีหน้าที่ที่จะต้องพัฒนาพวกเราระบบราชการ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับชาวบ้าน เพราะฉะนั้นถ้าเราจะเอาเรื่อง Balanced Scorecard ไปใช้เพื่อพัฒนาสังคมเพื่อพัฒนาชาวบ้านให้ลุกขึ้นมาดูแลตัวเองได้ต้องใช้ระบบใหม่ ต้องปรับ คณะผมจึงเอาอันนี้มาปรับใช้เวลาอยู่ 3 ปีไปศึกษาอะไรต่อมิอะไรจนกระทั่งเข้ารูปดีพอสมควร ขณะนี้เราก็ขยายงานนี้ไปเยอะมาก ไปได้ซัก 30-40% ทั่วประเทศในระดับท้องถิ่น ระดับตำบล จึงถึงเวลาที่ต้องมาคุยกับพวกเราในเรื่องนี้เพราะว่าวันหนึ่งเราจะต้องลงไปที่ท้องถิ่นแน่ๆ งานของท่านเมื่อลงไปท้องถิ่นแล้วท้องถิ่นเขาใช้แผนที่ยุทธศาสตร์แล้ว ถ้าเราไม่ใช้มันเป็นไปไม่ได้มันติด เพราะเขาจะรับไม่เต็มที่ ระบบไม่รับกัน ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่ท่านจะต้องเรียนรู้เรื่องนี้แล้วก็วางแผนที่ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานของท่านเสีย รวมถึงแผนที่ยุทธศาสตร์เฉพาะประเด็นที่ท่านต้องการเพื่อเราจะได้เอาตรงนี้ไปสวมในระดับท้องถิ่น ชุมชน ตำบลได้มันจะ fix พอดีเพราะข้างล่างกำลังทำเรื่องนี้พอดี ถ้าเราเอาข้างบนเป็นแผนที่เหมือนกันมันก็จะสวมพอดี มันเหมือนกับน้อตถ้าเข้าเกลียวได้มันก็สวมกันได้ ถ้าปีนเกลียวมันจะเข้ายาก เค้าก็คงเกรงใจทำให้บ้างนิดๆหน่อยๆท่านก็ไม่ได้อะไร ชาวบ้านก็ไม่เกิดอะไรขึ้น เราจึงต้องมาพูดกันในเรื่องนี้

แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์


คำแนะนำจากอาจารย์อมร นนทสุต “เราต้องการให้สคร.ต่างๆเป็นตัวแทนของกรมในการติดต่อสัมผัสกับจังหวัด(Interface) ดังนั้นสคร.จะต้องรู้เรื่องแผนที่ยุทธศาสตร์อย่างดีเพราะ


1) สคร.ต้องรู้จักปรับแก้หรือเพิ่มเติมแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของกรมฯ(ถ้ามี)ให้เหมาะสมกับพื้นที่ๆรับผิดชอบก่อนส่งมอบให้จังหวัด(พร้อมคำแนะนำว่าให้ใช้อย่างไร)ส่วนกลาง(สำนักฯ)ไม่ควรส่งแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ตรงไปจังหวัดโดยไม่ผ่านสคร.เพราะแผนที่ฯที่สร้างจากส่วนกลางอาจไม่เหมาะสมกับบริบทของจังหวัดเสมอไป 2) สคร.สร้างแผนที่ใหม่ตามความต้องการบางประเด็น(โรคหรือปัญหา)ของพิ้นที่ ในกรณีที่กรมฯไม่มีแผนที่ฯแต่จังหวัดหรือพื้นที่ต้องการทำงานควบคุมป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม
3) สคร.ช่วยให้จังหวัดสามารถปรับ(adjust)แผนที่ฯที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับของสคร.เพราะขณะนี้บางจังหวัดเริ่มงานควบคุมโรคโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ไปบ้างแล้ว4) สคร.เป็นวิทยากรแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สมทบกับวิทยากรของจังหวัดในการนำแผนที่ลงไปสู่ระดับอำเภอ /ท้องถิ่น เพราะเราต้องการนำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ SLM(Strategic Linkage Model) ลงไปไว้ที่อำเภอ ให้สำนักงาน สสอ.ทำหน้าที่ถ่ายระดับลงสู่ท้องถิ่นและควบคุมงาน ดังนั้นคณะวิทยากรร่วม(จากสคร./จังหวัด)ยังต้องช่วยสนับสนุนการสร้างแผนปฏิบัติการ(Mini-SLM) และการดำเนินบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติที่ท้องถิ่น/ตำบล(เพราะเขาอาจต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการหรือวัสดุอุปกรณ์บางอย่างที่จังหวัดหรือท้องถิ่นไม่สามารถจัดหาให้ได้)5) ดูแลการปรับปรุงช่องที่ 4 และ5 ของตาราง11 ช่องของตารางการทำแผนที่ฯโดยรับฟังจากผู้ปฏิบัติทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่น ตำบล และประชาชน เพราะเราต้องการสร้างนวัตกรรมในงานควบคุมป้องกันโรคทั้งในเชิงเทคนิควิชาการและมาตรการทางสังคมซึ่งทั้งสอง ส่วนใหญ่จะเป็นนวัตกรรมกระบวนการ(สิ่งที่เรากำหนดไปในตาราง11ช่องควรจะมีวิวัฒนาการต่อไปไม่หยุดอยู่กับที่และมาตรการทางสังคมต้องกำหนดที่ระดับตำบลอยู่แล้ว) 6)สคร.วางระบบ และดำเนินการ ติดตาม นิเทศและประเมินผล (ในแผนและผลผลิตการพัฒนาเครือข่ายฯ)
7)รับฟัง Feedback ที่ได้รับจากผู้ปฏิบัติ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดริเริ่มใหม่ๆหรือนวัตกรรมจะเป็นจุดตั้งต้นของงานค้นคว้าหาข้อมูลคำตอบ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนา R&D ที่จังหวัด รวมทั้งสคร.ควรรับผิดชอบดำเนินการ เพื่อสนับสนุนจังหวัดในพื้นที่ 8)สคร.เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างส่วนกลางกับจังหวัดโดยเฉพาะการดูแลเรื่องตัวชี้วัดต่างๆที่ส่วนกลางออกมาบังคับใช้ควรให้เหมาะสมและเป็นไปตามทฤษฎีการบริหารจัดการ ตัวชี้วัดที่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร(สร้างตัวชี้วัดอะไร? เพื่อนำไปใช้อย่างไร?-ที่ระดับใด)
9) ทิศทางที่ควรมุ่งเน้นการพัฒนาคือให้ดำเนินมาตรการทางสังคมคือต้องพัฒนาให้ประชาชนดูแลกันเองได้ ถึงเวลาชาวบ้านต้องรู้ว่าลูกจะต้องไปฉีดวัคซีนไม่ต้องให้ใครมา ลูกต้องชั่งน้ำหนัก ต้องรู้แล้วว่าขาดสารอาหารหรือเปล่าหรือว่าปกติ ต้องรู้ได้ด้วยตัวเอง ด้วยมาตรการทางสังคม สังคมเขาเองจะเป็นตัวบอก ดูแลกันเอง มาตรการทางสังคมพวกนี้จะต้องสร้างแล้วก็อบรม อาจจะใช้เวลานานแต่ไม่เป็นไร เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ มิฉนั้นชาวบ้านก็ยืนเองไม่ได้ เราต้องตัดสินใจในบทบาทหลักนี้ก่อน ต้องตกลงกันว่าชาวบ้านจะทำอะไรได้บ้าง เราต้องแน่นอนตรงนี้ ไม่อย่างนั้นก็ทำอะไรไม่ถูก เมื่อเราตัดสินใจได้แล้ว เราก็สามารถวางยุทธศาสตร์เพื่อตอบสนองได้
จากยุทธศาสตร์เราก็วางกระบวนการสำคัญที่จะทำให้งานสำเร็จ เช่น จะพัฒนาทักษะบุคลากรอย่างไรถ้าจะใช้กระบวนการเหล่านี้ จะจัดข้อมูลอย่างไรทางด้านบริหารก็ดี วิชาการก็ดี แล้วจะสร้างบริบทโครงสร้างองค์กรของเราอย่างไร สร้างผู้นำอย่างไร สร้างการทำงานเป็นทีมฯลฯ ทั้งหมดนี้แสดงได้โดยภาพปัจจัยสู่ความสำเร็จในการสร้างบทบาทของประชาชน บทบาทของคนในสังคมต้องเกิดจาก 3 ส่วน 1. องค์กร 2. กระบวนการบริหารจัดการ 3. บทบาทของภาคี ทั้งหมดนี้ต้องเอามาเรียงร้อยเข้าด้วยกันด้วยเครื่องมือทางบริหารที่เราเรียกว่า แผนที่ยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การสร้างบทบาทของคนในสังคมขึ้นมาใหม่