วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์


คำแนะนำจากอาจารย์อมร นนทสุต “เราต้องการให้สคร.ต่างๆเป็นตัวแทนของกรมในการติดต่อสัมผัสกับจังหวัด(Interface) ดังนั้นสคร.จะต้องรู้เรื่องแผนที่ยุทธศาสตร์อย่างดีเพราะ


1) สคร.ต้องรู้จักปรับแก้หรือเพิ่มเติมแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของกรมฯ(ถ้ามี)ให้เหมาะสมกับพื้นที่ๆรับผิดชอบก่อนส่งมอบให้จังหวัด(พร้อมคำแนะนำว่าให้ใช้อย่างไร)ส่วนกลาง(สำนักฯ)ไม่ควรส่งแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ตรงไปจังหวัดโดยไม่ผ่านสคร.เพราะแผนที่ฯที่สร้างจากส่วนกลางอาจไม่เหมาะสมกับบริบทของจังหวัดเสมอไป 2) สคร.สร้างแผนที่ใหม่ตามความต้องการบางประเด็น(โรคหรือปัญหา)ของพิ้นที่ ในกรณีที่กรมฯไม่มีแผนที่ฯแต่จังหวัดหรือพื้นที่ต้องการทำงานควบคุมป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม
3) สคร.ช่วยให้จังหวัดสามารถปรับ(adjust)แผนที่ฯที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับของสคร.เพราะขณะนี้บางจังหวัดเริ่มงานควบคุมโรคโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ไปบ้างแล้ว4) สคร.เป็นวิทยากรแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สมทบกับวิทยากรของจังหวัดในการนำแผนที่ลงไปสู่ระดับอำเภอ /ท้องถิ่น เพราะเราต้องการนำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ SLM(Strategic Linkage Model) ลงไปไว้ที่อำเภอ ให้สำนักงาน สสอ.ทำหน้าที่ถ่ายระดับลงสู่ท้องถิ่นและควบคุมงาน ดังนั้นคณะวิทยากรร่วม(จากสคร./จังหวัด)ยังต้องช่วยสนับสนุนการสร้างแผนปฏิบัติการ(Mini-SLM) และการดำเนินบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติที่ท้องถิ่น/ตำบล(เพราะเขาอาจต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการหรือวัสดุอุปกรณ์บางอย่างที่จังหวัดหรือท้องถิ่นไม่สามารถจัดหาให้ได้)5) ดูแลการปรับปรุงช่องที่ 4 และ5 ของตาราง11 ช่องของตารางการทำแผนที่ฯโดยรับฟังจากผู้ปฏิบัติทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่น ตำบล และประชาชน เพราะเราต้องการสร้างนวัตกรรมในงานควบคุมป้องกันโรคทั้งในเชิงเทคนิควิชาการและมาตรการทางสังคมซึ่งทั้งสอง ส่วนใหญ่จะเป็นนวัตกรรมกระบวนการ(สิ่งที่เรากำหนดไปในตาราง11ช่องควรจะมีวิวัฒนาการต่อไปไม่หยุดอยู่กับที่และมาตรการทางสังคมต้องกำหนดที่ระดับตำบลอยู่แล้ว) 6)สคร.วางระบบ และดำเนินการ ติดตาม นิเทศและประเมินผล (ในแผนและผลผลิตการพัฒนาเครือข่ายฯ)
7)รับฟัง Feedback ที่ได้รับจากผู้ปฏิบัติ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดริเริ่มใหม่ๆหรือนวัตกรรมจะเป็นจุดตั้งต้นของงานค้นคว้าหาข้อมูลคำตอบ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนา R&D ที่จังหวัด รวมทั้งสคร.ควรรับผิดชอบดำเนินการ เพื่อสนับสนุนจังหวัดในพื้นที่ 8)สคร.เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างส่วนกลางกับจังหวัดโดยเฉพาะการดูแลเรื่องตัวชี้วัดต่างๆที่ส่วนกลางออกมาบังคับใช้ควรให้เหมาะสมและเป็นไปตามทฤษฎีการบริหารจัดการ ตัวชี้วัดที่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร(สร้างตัวชี้วัดอะไร? เพื่อนำไปใช้อย่างไร?-ที่ระดับใด)
9) ทิศทางที่ควรมุ่งเน้นการพัฒนาคือให้ดำเนินมาตรการทางสังคมคือต้องพัฒนาให้ประชาชนดูแลกันเองได้ ถึงเวลาชาวบ้านต้องรู้ว่าลูกจะต้องไปฉีดวัคซีนไม่ต้องให้ใครมา ลูกต้องชั่งน้ำหนัก ต้องรู้แล้วว่าขาดสารอาหารหรือเปล่าหรือว่าปกติ ต้องรู้ได้ด้วยตัวเอง ด้วยมาตรการทางสังคม สังคมเขาเองจะเป็นตัวบอก ดูแลกันเอง มาตรการทางสังคมพวกนี้จะต้องสร้างแล้วก็อบรม อาจจะใช้เวลานานแต่ไม่เป็นไร เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ มิฉนั้นชาวบ้านก็ยืนเองไม่ได้ เราต้องตัดสินใจในบทบาทหลักนี้ก่อน ต้องตกลงกันว่าชาวบ้านจะทำอะไรได้บ้าง เราต้องแน่นอนตรงนี้ ไม่อย่างนั้นก็ทำอะไรไม่ถูก เมื่อเราตัดสินใจได้แล้ว เราก็สามารถวางยุทธศาสตร์เพื่อตอบสนองได้
จากยุทธศาสตร์เราก็วางกระบวนการสำคัญที่จะทำให้งานสำเร็จ เช่น จะพัฒนาทักษะบุคลากรอย่างไรถ้าจะใช้กระบวนการเหล่านี้ จะจัดข้อมูลอย่างไรทางด้านบริหารก็ดี วิชาการก็ดี แล้วจะสร้างบริบทโครงสร้างองค์กรของเราอย่างไร สร้างผู้นำอย่างไร สร้างการทำงานเป็นทีมฯลฯ ทั้งหมดนี้แสดงได้โดยภาพปัจจัยสู่ความสำเร็จในการสร้างบทบาทของประชาชน บทบาทของคนในสังคมต้องเกิดจาก 3 ส่วน 1. องค์กร 2. กระบวนการบริหารจัดการ 3. บทบาทของภาคี ทั้งหมดนี้ต้องเอามาเรียงร้อยเข้าด้วยกันด้วยเครื่องมือทางบริหารที่เราเรียกว่า แผนที่ยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การสร้างบทบาทของคนในสังคมขึ้นมาใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น